ไตวายเรื้อรัง อาจส่งผลให้คุณนกเขาไม่ขันได้ไม่รู้ตัว

เชื่อหรือไม่ว่าโรคไตวายเรื้อรัง ส่งผลต่อสมรรถภาพทางเพศ หนุ่มๆ หลายคนได้ยินแล้ว อาจเกิดข้อสงสัย และคำถามในใจขึ้นว่า โรคไตวาย เกี่ยวข้องอย่างไรกับอาการนกเขาไม่ขัน Dr. MDX ต้องบอกคุณผู้ชายทุกคนก่อนว่า โรคไตวายเรื้อรังนั้นร้ายแรงกว่าที่หลายคนคิด นอกจากโรคไตจะเป็นตัวการสำคัญในการทำลายระบบต่างๆ ในร่างกายของเราแล้ว ยังเป็นตัวการทำลายสมรรถภาพทางเพศของพวกเราอีกด้วย

แล้วไตวายเรื้อรัง เกี่ยวอะไรกับสมรรถภาพทางเพศ ตาม Dr.MDX ไปดูพร้อมๆ กันเลยครับ

โรคไตวายเรื้อรัง

โรคไตวายเรื้อรัง คือ สภาวะที่ไตถูกทำลาย มีผลทำให้ความสามารถของไตในการทำงานลดลง เช่น การรักษาสมดุลของเหลวในร่างกาย การควบคุมน้ำและแร่ธาตุต่างๆ ในเลือด การกำจัดของเสียออกจากเลือด การกำจัดยาและพิษออกจากร่างกาย การหลั่งฮอร์โมนเข้าสู่กระแสเลือด เป็นต้น โดยสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคไตวายเรื้อรังโดยส่วนใหญ่แล้วเกิดจาก โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน รวมถึงสภาวะอื่นๆ เช่น ไตอักเสบ โรคถุงน้ำในไต เป็นต้น

สาเหตุของไตวายเรื้อรัง

ส่วนใหญ่มักเกิดจากภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน (ระดับน้ำตาลในเลือดส่งผลโดยตรงกับไตทำให้ไตเสื่อม) และโรคความดันโลหิตสูง (ส่งผลให้ผนังหลอดเลือดที่ไหลเวียนเลือดไปที่ไตผิดปกติ หากมีภาวะความดันโลหิตสูงเป็นระยะเวลานานโดยไม่ได้รับการรักษา ก็อาจทำให้ไตเสื่อมได้ในที่สุด) ที่ผู้ป่วยขาดการรักษาอย่างจริงจัง และอาจเกิดจากโรคไตเรื้อรัง เช่น หน่วยไตอักเสบ กรวยไตอักเสบ โรคไตเนโฟติก นิ่วในไต หรือโรคถุงน้ำในไต (Polycystic kidney disease) ซึ่งเป็นโรคที่ทำให้ถุงน้ำค่อย ๆ โตขึ้นจนเบียดเนื้อไตที่ปกติและทำให้ไตทำหน้าที่ผิดปกติจนเกิดภาวะไตวายเรื้อรังในที่สุด

ภาวะแทรกซ้อนของไตวายเรื้อรัง

นอกจากจะพบภาวะแทรกซ้อนแบบเดียวกับไตวายเฉียบพลันแล้ว ยังพบอาการ ปอดอักเสบ, ปลายประสาทอักเสบ, โรคกระเพาะ, ภาวะต่อมพาราไทรอยด์ทำงานมากเกินไป, ภาวะไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง เนื่องจากไตขับสารพวกนี้ได้น้อยลง ซึ่งอาจทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะหรือหยุดเต้นได้, ภาวะกระดูกพรุน, ภาวะกระดูกอ่อนทำให้กระดูกแตกหักได้ง่าย

อาการไตวายเรื้อรังยังทำให้เกิดภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ หรือองคชาตไม่แข็งตัว ซึ่งเกิดจากความวิตกกังวลของผู้ป่วยเอง ที่พบบ่อยคือ ภาวะซึมเศร้า ความผิดปกติด้านต่อมเพศ โดยจะมีความผิดปกติของการสร้างอสุจิ รวมถึงอาจเป็นผลข้างเคียงมาจากยารักษาอาการไตวายเรื้อรัง เช่น ยาขับปัสสาวะ โดยแพทย์ระบุว่าโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย มีผลให้ สมรรถภาพทางเพศของผู้ชายเสื่อมได้มากถึงร้อยละ 50 เลยทีเดียว

นอกจากอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศแล้ว ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังอาจมีโรคแทรกซ้อนทางเพศเช่น ต่อมอัณฑะทำงานน้อย อีกด้วย

ปัจจัยเสี่ยงของโรคไตเรื้อรัง

ผู้ที่มีโรคหรือพฤติกรรมเหล่านี้ อาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคไตวายเรื้อรังได้ในอนาคต

– โรคเบาหวาน

– ความดันโลหิตสูง

– ประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคไตวายเรื้อรัง

– อายุมาก

– น้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน

– สูบบุหรี่

การตรวจสอบอาการไตวาย

หากมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคไตเรื้อรัง ควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจสุขภาพดังนี้

– วัดความดันโลหิต

– ตรวจหาโปรตีนในปัสสาวะ โปรตีนเป็นส่วนประกอบสำคัญสำหรับร่างกาย โปรตีนที่ผ่านการกรองแล้วจะถูกดูดซึมกลับเข้าสู่ร่างกาย เมื่อไตไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ โปรตีนจะรั่วออกมากับปัสสาวะ

– ตรวจเลือดตามปกติเพื่อหาค่าครีเอตินิน (creatinine) ซึ่งเป็นของเสียที่มาจากการทำงานของกล้ามเนื้อ ผลที่ได้จากการตรวจหาค่าครีเอตินินนั้นจะใช้ในการประเมินค่าการทำงานของไตหรือ GFR (glomerular filtration rate) ค่าการทำงานของไตนี้จะบอกว่าไตทำงานได้มากน้อยเพียงใด ค่าการทำงานของไตที่ต่ำอาจหมายถึงไตไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ

การตรวจสอบดังกล่าว เป็นเพียงการตรวจสอบเบื้อต้นเท่านั้น หากพบอาการดังกล่าว แพทย์จะทำการวินิจฉัยโรคโดยละเอียดด้วยกระบวนการทางเทคนิคอื่นๆ

การป้องกันให้ห่างไกลจากโรคไต

การป้องกันโรคไตวายทำได้โดย การตรวจคัดกรองโรคไตตั้งแต่ยังไม่มีอาการ คือ การตรวจสุขภาพประจำปี โดยเริ่มได้ตั้งแต่อายุ 15 ถึง 18 ปี ด้วยการตรวจร่างกายกับแพทย์ ตรวจวัดความดันโลหิต การตรวจปัสสาวะ และตรวจเลือดดูการทำงานของไต หรือการตรวจต่างๆ ตามแพทย์แนะนำ

การป้องกันโรคไตนั้นยังสามารถทำได้โดยการมีวินัยกับอาหารการกิน เช่น การกินอาหารจืด จำกัดการกินอาหารเค็ม ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการกลั้นปัสสาวะ และการหลีกเลี่ยงสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงของโรคต่างๆ ที่จะส่งผลให้ไตทำงานผิดปกติ เช่น โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง, โรคไขมันในเลือดสูง, โรคอ้วน, โรคหัวใจ เป็นต้น

นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีผลต่อไต เช่น การกินยากลุ่มแก้ปวดเป็นเวลานานๆ ควรไปรับการรักษาจากแพทย์ อย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่นอกเหนือคำสั่งของแพทย์ และควรไปรับการตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

เห็นไหมครับ ว่าโรคไตวายเรื้อรัง นั้นส่งผลต่ออาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้จริง แต่ก็ใช่ว่าโรคไตวายจะไม่ทางป้องกัน หากเราดูแลตัวเองให้ดี ทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ เช่น การกินอาหารรสชาติกลางๆ ไม่เค็มเกินไป ดูแลสุขภาพร่างการให้แข็งแรง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และที่สำคัญคือการดูแลสุขภาพจิตให้แจ่มใส ไม่เครียด ก็จะทำให้คุณห่างไกลจากโรคไตวายเรื้อรัง และทำให้สุขภาพทางเพศของคุณแข็งแรงสมบูรณ์อีกด้วย

MDX Men เป็นอาหารเสริมสำหรับคุณผู้ชาย เพื่อดูแลอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศอย่างถูกวิธี เน้นการรักษาจากต้นเหตุของปัญหา ด้วยสมุนไพรที่สกัดด้วยกรรมวิธีที่ทันสมัย ทำให้ได้ MDX Men เพื่อดูแล 5 ปัญหาของคุณผู้ชาย คือ น้องชายไม่แข็งตัว ขนาดเล็กต้องการเพิ่มขนาด แก้ไขอาการหลั่งเร็ว เพิ่มปริมาณอสุจิและขจัดปัญหาการมีลูกยาก

ด้วยเทคโนโลยี MATRIXbooster ใน MDX ซึ่งช่วยในการบำรุงร่างกาย ปรับสมดุลของฮอล์โมนและระบบต่างๆ ในร่างกาย นอกจากนี้ยังมีมีสรรพคุณในการแก้ปัญหาอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศที่ต้นเหตุ ทำให้ไม่กลับมาเป็นซ้ำอีก โดยใช้หลักการฟื้นฟูร่างกายแบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้ร่ายกายกลับมาสมดุลและแข็งแรงดังใจหวังอีกครั้ง

ที่มา : haamor.com, medthai.com, ryt9.com