ช่วงนี้ข่าวอาหารเสริมไม่ได้มาตรฐานเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของคนทั่วไปเป็นอย่างมาก อาจเพราะอาหารเสริมนั้นเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ หลายคนทานอาหารเสริมเพื่อบำรุงร่างกาย ลดน้ำหนัก เพื่อบำรุงผิว ฯลฯ เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่า อาหารเสริมที่เราใช้อยู่ หรือกำลังจะตัดสินใจซื้อนั้นเป็นผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยได้มาตรฐานจริง Dr.MDX มีวิธีการสังเกตุมาบอกกัน
อาหารเสริมคืออะไร
อาหารเสริมในทางเภสัชกรรมหมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ใช้รับประทานนอกเหนือจากการรับประทานอาหารตามปกติ โดยจะมีส่วนประกอบของสารอาหาร และอาจมีส่วนประกอบอื่นๆ เช่น เอนไซม์ ใยอาหาร หรือสมุนไพร อาหารเสริมนั้นไม่เหมือนกับยา จึงไม่มีผลในการป้องกันหรือรักษาโรค และเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้สำหรับบุคคลทั่วไปที่ต้องการดูแลสุขภาพ ไม่ใช่ผู้ป่วย
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้นยังสามารถแบ่งเป็นประเภทย่อยๆ ได้อีกหลายประเภท ดังนี้
1. วิตามิน เช่น วิตามินเอ, วิตามินบี, วิตามินซี, วิตามินดี, วิตามินอี, กรดโฟลิก
2. แร่ธาตุหรือเกลือแร่ เช่น แคลเซียม, สังกะสี, เหล็ก, แมกนีเซียม, ซิลีเนียม
3. กรดอะมิโน เช่น ทริปโตเฟน, กลูตามีน, อาร์จินีน, ไทโรซีน, กรดอะมิโนโซ่กิ่ง
4. กรดไขมัน เช่น กรดไขมันโอเมก้า-3, กรดไขมันโอเมก้า-6
5. สมุนไพร และสารสกัดจากพืช เช่น สารสกัดจากเมล็ดองุ่น, ขิง, กระเทียม, แปะก๊วย, โสม
6. สารสกัดจากสัตว์ เช่น น้ำมันปลา , น้ำมันตับปลา, สารสกัดจากหอยนางรม
อาหารเสริมโดยทั่วไปมักมีสรรพคุณหลากหลาย อาหารเสริมที่พบเห็นโดยทั่วไปในท้องตลาดนั้นมีหลายประเภท เช่น อาหารเสริมกลุ่มสุขภาพ อาหารเสริมลดน้ำหนัก อาหารเสริมสำหรับบำรุงผิว อาหารเสริมประเภทดีท็อกซ์ เป็นต้น อาหารเสริมเหล่านี้ผลิตโดยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ต้องผ่านการตรวจสอบและควบคุมโดยผู้ที่มีความรู้ความชำนาญไม่เช่นนั้นอาจจะเกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้
นอกจากกระบวนการผลิตแล้ว สารเคมีต่างๆ ที่อยู่ในอาหารเสริมนั้น ก็อาจเป็นตัวการในการทำร้ายร่างกายของเราได้ ปัจจุบันนี้ องค์การอาหารและยาได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ สารเคมีที่เป็นอันตรายในอาหารเสริม ซึ่งในอาหารเสริมบำรุงสุขภาพชายเอง ก็มีการใช้สารเคมีอันตรายบางตัวเป็นส่วนประกอบ จะมีอะไรบ้าง ตาม Dr.MDX ไปดูพร้อมๆ กันเลยครับ
ซิลเดนาฟิล (Sildenafil)
เป็นยาที่อยู่ในกลุ่มยาควบคุมพิเศษ ผู้ที่จะใช้ยานี้ได้นั้นต้องได้รับความเห็นชอบจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเสียก่อน ไม่สามารถหาซื้อได้เอง เพราะตัวยาซิลเนดาฟิลนั้นมีผลข้างเคียงแก่ผู้ที่ใช้ยา ยิ่งหากมีโรคประจำตัวบางชนิดด้วยแล้ว อาจส่งผลร้ายแรงกับผู้ใช้ยาได้ ผลข้างเคียงจากการใช้ซิลเดนาฟิลเกินขนาดได้แก่ หน้าแดง วิงเวียน ปวดศรีษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ อาหารไม่ย่อย คัดจมูก อาจทำให้ตาบอดได้
ทาดาลาฟิล (Tadalafil)
นำมาบำบัดรักษาอาการสมรรถภาพทางเพศเสื่อม ภายใต้ชื่อยาการค้า “Cialis” นอกจากนี้ยังนำไปรักษาภาวะความดันโลหิตสูงของหลอดเลือดภายในปอด อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น มีกรดในกระเพาะอาหารมาก แสบร้อนกลางอก และอาหารไม่ย่อย เป็นต้น
วาร์เดนาฟิล (Vardenafil)
ใช้รักษาอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ใช้ชื่อการค้า Levitra, Staxyn, และ Vivanza ยาตัวนี้ออกฤทธิ์คล้ายคลึงกับยาที่มีชื่อว่า Sildenafil และ Tadalafil ถูกจัดอยู่ในหมวดยาควบคุมพิเศษ ก่อนการสั่งจ่ายยานี้ แพทย์จะทำการตรวจร่างกายว่ามีความพร้อมที่จะใช้ยานี้หรือไม่
อัลเดนาฟิล (Aildenafil)
สารปลอมปนตัวใหม่ในยาแผนโบราณที่อวดอ้างสรรพสมรรถภาพทางเพศ ระบุเป็นสารที่ไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นยา อาจทำอันตรายถึงตาย นอกจากนี้ยังเป็นสารที่ อย. ไม่อนุญาตให้ผลิตหรือนำเข้าในประเทศ ผลข้างเคียงที่พบคล้ายกับ ซิลเดนาฟิล คือ ปวดศีรษะ ตาลาย หน้าแดง อาหารไม่ย่อย หายใจลำบาก อาจสูญเสียการได้ยิน หรือเกิดความผิดปกติของระบบประสาทตาได้
สเตียรอยด์ (Steroid)
เป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ร่างกายผลิตขึ้นเองได้ ซึ่งมีความสำคัญต่อการทำงานของร่างกาย ในปัจจุบัน วงการแพทย์ได้นำสเตียรอยด์มาใช้รักษาอาการเจ็บป่วย หรือใช้ในวงการเสริมความงาม แต่การใช้สเตียรอยด์อยากไม่ถูกต้องทำให้เกิดผลข้างเคียงเช่น กดภูมิคุ้มกันของร่างกายทำให้ภูมิคุ้มกันลดลง ทำให้ติดเชื้อง่าย ระดับความดันโลหิตผิดปกติ อารมณ์แปรปรวน นอนไม่หลับ
สารเคมีเหล่านี้ หากใช้ถูกวิธีและปริมาณที่เหมาะสมอาจมีประโยชน์ในทางการแพทย์ แต่ถึงอย่างไรก็เป็นสารอันตรายที่ต้องระวังในการใช้อย่างมาก หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังเลือกซื้ออาหารเสริมเพื่อสุขภาพทางเพศ Dr.MDX แนะนำว่า ควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่ใส่ส่วนผสมของสารข้างต้น เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาและอันตรายที่จะเกิดกับตัวเราในอนาคต
การสังเกตุอาหารเสริมที่ปลอดภัยได้มาตรฐาน
ใช่ว่าอาหารเสริมจะอันตรายไปเสียหมดทุกยี่ห้อ ยังมีอาหารเสริมอีกหลายแบรนด์ที่ได้มาตรฐาน ปลอดภัย และผลิตด้วยความห่วงใยผู้บริโภคอยู่อีกมาก แต่เราผู้เป็นผู้บริโภคก็มีหน้าที่ตรวจสอบก่อนที่จะตัดสินใจใช้อาหารเสริมแต่ละชนิด วิธีการตรวจสอบนั้นก็ไม่ยาก เพียงคุณทำตามขันตอนดังนี้
ตรวจสอบเลขทะเบียน อย.
อย. หรือ สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาเป็นองค์กรที่ดูแลและควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์สุขภาพโดยผลิตภัณฑ์สุขภาพเหล่านั้นต้องมีคุณภาพมาตรฐานและปลอดภัย การสังเกตุเลขทะเบียน อย. ที่ระบุไว้บนฉลากสินค้านั้นเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้นๆ แต่เพียงเท่านั้นยังไม่พอ เพราะปัจจุบันอาหารเสริมจำนวนไม่น้อยที่ระบุเลข อย. ที่ไม่ถูกต้อง ผู้บริโภคอย่างเราจึงควรตรวจสอบเลขทะเบียน อย. ที่ถูกต้อง ก่อนจะบริโภคอาหารเสริมยี่ห้อใดๆ ก้ตาม
การตรวจสอบเลข อย. นั้นสามารถทำได้โดยการนำเลขทะเบียน อย.บนฉลากสินค้าไปตรวจสอบได้ที่ http://porta.fda.moph.go.th/FDA_SEARCH_ALL/MAIN/SEARCH_CENTER_MAIN.aspx
สังเกตุส่วนประกอบของอาหารเสริมที่ระบุไว้ในฉลากอย่างละเอียด
ก่อนจะตัดสินใจซื้อสินค้าควรอ่านฉลากให้ละเอียดว่า อาหารเสริมชนิดนั้นไม่มีสารเคมีอันตรายที่มีผลต่อร่างกายอย่างที่ Dr.MDX กล่าวไปแล้วข้างต้น เพราะหากเราพบเห็นสารเคมีเหล่านี้ก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นอันตรายต่อร่างกาย จนอาจทำให้เสียชีวิตได้ และเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจจะเกิดกับตัวเราตั้งแต่ต้นเราผู้บริโภคนั้นควรอ่านฉลากให้รอบคอบก่อนจะเลือกซื้อสินค้าใดๆ ก็ตาม
ไม่หลงเชื่อโฆษณาชวนเชื่อ และโปรโมชั่นต่างๆ โดยไม่ศึกษาข้อมูล
ไม่ใช่เรื่องแปลกที่ผู้ผลิตจะทำโฆษณา และออกโปรโมชั่นต่างๆ เพื่อส่งเสริมการขาย โดยในปัจจุบันโปรโมชั่นทดลองใช้ ใช้ก่อนจ่ายทีหลัง กำลังเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจของผู้บริโภค แต่การทดลองใช้นั้นไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก หากคุณไม่ศึกษาข้อมูลของผลิตภัณฑ์นั้นๆ ให้ดีก่อน
หากจะทดลองใช้เราควรจะศึกษาข้อมูล อ่านส่วนประกอบของสินค้าโดยละเอียด และที่สำคัญก็ควรตรวขสอบเลข อย. แบบที่ Dr.MDX ได้ย้ำให้ทุกๆ ท่านไปแล้ว
อ้างอิงเอกสารรับรองคุณภาพจากองค์กร
หรือผู้เชี่ยวชาญที่ไม่สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ว่าเป็นใคร มาจากไหน เราควรมั่นใจได้ว่า เอกสารที่รับรองคุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่เราสนใจนั้นเป็นของจริง ทำได้โดยการตรวจสอบเลขทะเบียนของเอกสารรับรองคุณภาพเหล่านั้น นอกจากนี้ เอกสารอ้างอิงต่างๆ ที่ผู้ผลิตใช้ต้องสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ว่าเป็นข้อมูลจริงและทันสมัย
ติดตามข่าวสารจากองค์การอาหารและยา
หากคุณเป็นคนที่ใช้สินค้าประเภทยา อาหารเสริมต่างๆ สิ่งที่ควรทำอย่างยิ่งคือการติดตามข่าวสารอยุ่เสมอ เพื่อเป็นการรู้เท่าทันผลิตภัณฑ์ที่อาจจะไม่ได้คุณภาพ และเป็นการเพิ่มความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการบริโภคอาหารเสริมที่ถูกต้อง
ที่มา : สมาคมส่งเสริมนวัตกรรมด้านสุขภาพ, thailandherbstore.com,
pobpad.com, healthybooth.com, student.chula.ac.th