เทคนิคการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ

การออกกำลังกายนั้นสำคัญกับคนทุกคน ตั้งแต่เด็กเล็กๆ คนหนุ่มสาว ไม่เว้นแม้แต่ผู้สูงอายุ เพราะการออกกำลังกายที่ถูกต้องและเหมาะสมนั้นช่วยให้ผู้สูงอายุลดภาวะเสี่ยงกับการเป็นโรคร้ายต่างๆ หรือแม้แต่การเพิ่มภูมิคุ้มกันเพื่อต่อสู่กับโรคภัยที่เข้ามาทำร้ายเราได้
เป็นที่ทราบกันดีว่า เมื่ออายุมากขึ้นโรคภัยต่างๆ ก็มักจะเข้ามารุมเร้า ไม่มีใครสามารถปฏิเสธเรื่องเหล่านี้ได้อย่างแน่นอน แต่สิ่งหนึ่งที่จะช่วยรักษาร่างกายและจิตใจให้แข็งแรงพร้อมสู้กับโรคร้ายนั้นก็คือการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ในผู้สูงอายุการออกกำลังกายที่ถูกต้องและเหมาะสมช่วยให้ กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรง ลดความดันโลหิต ช่วยให้ปอดแข็งแรงขึ้น สามารถควบคุมเบาหวานได้ดีเนื่องจากกล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น น้ำหนักลดลง นอกจากนี้ยังช่วยให้อารมณ์และจิตใจแจ่มใส่ขึ้นอีกด้วย
การออกกำลังกายในผู้สูงอายุนั้น ต้องคำนึงถึงหลักการหลายประการเพราะผู้สูงอายุมีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจากการออกกำลังกายมากกว่าคนหนุ่มสาว วันนี้ Dr.MDX จึงมีข้อควรปฏิบัติและข้อควรระวังในการออกกำลังกายของผู้สูงอายุมาให้ชมกันออกกำลังอย่างไรจึงจะถูกวิธี
การออกกำลังกายในผู้สูงอายุมีความแตกต่างจากการออกกำลังกายในคนหนุ่มสาวอยู่มาก โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว ข้อควรระวังคือ ห้ามออกแรงมากหรือเคลื่อนไหวเร็ว แนะนำให้เน้นออกกำลังกายเป็นส่วนๆ โดยต้องยึดหลักไว้ว่าทำช้าๆ ต่อเนื่อง และมีแรงต้านหรือแรงกระแทกน้อย
เพิ่มการเคลื่อนไหวของข้อโดยการเคลื่อนไหวข้อต่อต่าง ๆ เท่าที่จะทำได้ เช่น หัวไหล่ จากแขนแนบอยู่ข้างลำตัวก็ค่อย ๆ ยกขึ้นเหนือศีรษะให้สุด ทำต่อเนื่องข้อละประมาณ 5-10 ครั้ง

เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เน้นพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่จะช่วยเรื่องการเคลื่อนไหว เช่น กล้ามเนื้อขา กล้ามเนื้อสะโพก กล้ามเนื้อหลัง เช่น การยกน้ำหนักที่ไม่หนักมาก ดันกำแพง ยกแขน ยกขา เป็นต้น

เพิ่มความยืดหยุ่นและการทรงตัว เป็นการเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ จนสุดเพื่อเป็นการยืดกล้ามเนื้อ ร่วมกับมีการถ่ายเทน้ำหนักไปมาเพื่อเพิ่มการทรงตัว ลดโอกาสในการหกล้ม หรือปวดกล้ามเนื้อ เช่น การรำมวยจีน โยคะ

เพิ่มสมรรถภาพของหัวใจและปอด เป็นการออกกำลังกายกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ๆ อย่างต่อเนื่องให้หัวใจทำงานถึงระดับหนึ่งที่เรียกว่า Target Heart Rate (TGR) ซึ่งในผู้สูงอายุ TGR จะต่ำกว่าในคนหนุ่มสาวโดยอยู่ที่ประมาณร้อยละ 60-70 ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด (Maximum Heart Rate) และคงที่อยู่ประมาณ 15 นาที และควรทำให้ได้ 3 ครั้งต่อสัปดาห์หรือวันเว้นวันโดยประมาณ

แม้การออกกำลังกายจะมีความจำเป็นต่อบุคคลทุกวัยก็ตาม แต่สำหรับผู้สูงอายุ การออกกำลังกายบางอย่างอาจก่อให้เกิดอันตราย ดังนั้น การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุจึงมีหลักการดังนี้


ความช้า ความเร็ว ในการออกกำลังกายที่เหมาะสม เป็นการกระทำอย่างช้าๆ ไม่ต้องการความเร็ว ควรมีเวลาพักผ่อนได้ตามความจำเป็น

ความหนักเบา ใช้กล้ามเนื้อพอประมาณ ไม่ถึงกับใช้กำลังกล้ามเนื้อจนถึงที่สุด เพราะอาจเกิดอันตราย แต่ไม่ถึงกับเบาจนกระทั่งแทบจะไม่ต้องออกแรงเลย เพราะจะไม่ได้ประโยชน์

ความมากน้อย ไม่ควรออกกำลังกายมากจนเหน็ดเหนื่อย หายใจหอบ นอกจากไม่ได้ผลแล้ว ยังเป็นอันตรายแก่สุขภาพ แต่ก็ไม่ควรออกกำลังกายน้อยจนไม่ได้ประโยชน์

การสร้างเสริม และรักษาการออกกำลังกาย ต้องการทำโดยสม่ำเสมอ จึงได้ผลดี การทำๆ หยุด ๆ มักไม่ได้ผล และบางครั้งกลับเกิดผลเสีย ควรจะออกกำลังการอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 15-20 นาที ติดต่อกันอย่างน้อย 2-4 เดือน

การพักผ่อน และพักฟื้น หลังการออกกำลังกายทุกครั้ง ต้องมีเวลาพักผ่อนให้หายเหนื่อย และพักฟื้นให้ร่างกายมีโอกาสซ่อมแซมการสึกหรอที่เกิดขึ้นให้หมดไป และสร้างเสริมให้แข็งแรงยิ่งขึ้น ข้อสังเกตง่ายๆ คือก่อนออกกำลังกายครั้งต่อไปร่างกายจะต้องสดชื่น อยู่ในสภาพเดิมหรือดีกว่า

ผู้สูงอายุควรหยุดการออกกำลังกาย หากมีอาการเหนื่อยมาก หายใจไม่ทัน เหงื่อออกมาก ตัวเย็น เจ็บที่บริเวณหัวใจหรือร้าวไปที่ไหล่ซ้าย เวียนศีรษะ ควบคุมลำตัวแขน ขา ไม่ได้ มีอาการอ่อนแรงหรืออัมพาตบริเวณแขน ขา หรืออวัยวะอื่นๆ ควรรีบปรึกษาแพทย์ ไม่ควรฝืนที่จะออกกำลังกายต่อเด็ดขาด เพราะอาจทำให้บาดเจ็บ หรือเสียชีวิตได้
หากคุณเป็นผู้สูงอายุและคิดจะเริ่มออกกำลังกาย มีหลายเรื่องที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ดังต่อไปนี้


– รู้จักตัวเองว่าเป็นโรคอะไร และมีความเสี่ยงอย่างไร อย่าลืมปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำที่เหมาะสมเพื่อความปลอดภัยของร่างกายขณะที่ออกกำลังกาย

– เริ่มออกกำลังกายจากเบา ๆ ในเวลาสั้น ๆ ก่อน แล้วค่อยเพิ่มความหนักและระยะเวลาขึ้นจนสามารถออกกำลังกายได้นานถึง 15-30 นาที

– สวมใส่เสื้อผ้าและรองเท้าที่เหมาะสมคล่องแคล่วเพื่อหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นขณะออกกำลัง

– จัดสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม สถานที่ออกกำลังกายควรเป็นพื้นที่เรียบโล่ง มั่นคง มีอุณหภูมิพอเหมาะ ไม่ร้อนหรือหนาวจัดเกินไป

– เลือกรูปแบบการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม เน้นชนิดที่ช้า ไม่มีแรงกระแทกต่อข้อ หรือแรงต้าน และไม่หนักหน่วงเกินไป เช่น การเดินขี่จักรยาน ว่ายน้ำ

– ห้ามกลั้นหายใจหรือเบ่งไม่ว่าจะออกกำลังกายอะไรก็ตาม เพราะจะเพิ่มความต้านทานของหลอดเลือดส่วนปลาย ส่งผลให้หัวใจทำงานหนักโอกาสที่ความดันจะสูงขึ้นจนเป็นอันตรายมีสูงมาก

– อาการปวดเมื่อยหลังออกกำลังกายอาจเกิดขึ้นได้ พักและปรับรูปแบบการออกกำลังให้เบาลงแล้วจึงค่อยกลับไปออกกำลังกายตามเดิม

– อบอุ่นร่างกายทุกครั้งประมาณ 10 นาที เพื่อเตรียมกล้ามเนื้อ เพิ่มความยืดหยุ่นก่อนออกกำลังกาย และอย่าหยุดทันทีทันใดภายหลังออกกำลังกาย ให้เวลาในการ “คูลดาวน์” ประมาณ 5-10 นาที เพื่อให้เลือดไหลกลับสู่หัวใจและสมอง ซึ่งจะลดอาการปวด เวียนศีรษะลงได้

– อย่าออกกำลังกายจนรู้สึกว่าเหนื่อยเกินไป สังเกตการหายใจว่าเร็วเกินไปหรือไม่ พูดฟังรู้เรื่องหรือไม่

– หากมีอาการผิดปกติระหว่างออกกำลังกาย เช่น หายใจขัด เจ็บหน้าอกหรือเวียนศีรษะต้องหยุดทันที

เห็นไหมหละครับว่า การออกกำลังกายนั้นจำเป็นต่อผู้สูงอายุ หากทำอย่างถูกวิธีและไม่หักโหม จากคนไม่มีแรงเมื่อครั้งก่อน อาจเปลี่ยนเป็นคนแข็งแรงขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งได้ในแบบที่คุณเองก็คิดไม่ถึง เพียงแค่คุณต้องมีระเบียบวินัย ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่หักโหม รับรองได้ว่า ร่างกายที่แข็งแรงจะอยู่กับคุณได้ไปอีกนานอย่างแน่นอน
นอกจากการออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายแล้ว การบำรุงร่างกาย สร้างความสมดุลของระบบต่างๆ ในร่างกายนั้นก็เป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กัน ปัจจุบันมีเทคโนโลยีอาหารเสริมเพื่อสุขภาพชายที่นำสมุนไพรที่มีสรรพคุณบำรุงร่างกาย ปรับสมดุลระบบ เข้ามาช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับท่านชาย อย่างเช่นเทคโนโลยี MATRIXbooster ใน MDX  ซึ่งช่วยในการบำรุงร่างกาย ปรับสมดุลของฮอล์โมนและระบบต่างๆ ในร่างกาย นอกจากนี้ยังมีมีสรรพคุณในการแก้ปัญหาอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศที่ต้นเหตุ ทำให้ไม่กลับมาเป็นซ้ำอีก โดยใช้หลักการฟื้นฟูร่างกายแบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้ร่ายกายกลับมาสมดุลและแข็งแรงดังใจหวังอีกครั้ง

ที่มา โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์, Younghappy.org, nurse.swu.ac.th